วันแม่
วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง
เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
ประวัติ
ในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์
ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์
ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย
วอร์ด ฮาว
โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา[1] ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา
ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา
วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
ประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่
28 พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล
ประเทศญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่น ปี 1931 (หรือปีโชวะที่ 6) องค์กร
สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ 06 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ
พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" ต่อมาในปี 1937
วันที่ 5 พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่12 ) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ
(ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี 1949
(หรือปีโชวะที่24 ) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม
ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ
ทั้งนี้ วันเด็ก 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันหยุดแห่งชาติตามกฎหมาย)
"เพื่อให้เด็กได้มีความสุขกับครอบครัวและ
ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เกิดมาอีกด้วย
ในวันแม่ ปกติประเทศญี่ปุ่นจะให้ดอกคาร์เนชั่นแต่เมื่อเร็ว ๆ
นี้ ไม่เพียงดอกคาร์เนชั่นเท่านั้น แต่ดอกกุหลาบสีชมพูและดอกเยอบิร่า ก็ให้ได้เช่นกัน
ประเทศไทย
ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493
ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว
มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี
เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก
ปฏิทินเกรโกเรียน
|
||||||||||||
ทุกวันที่
|
วันที่
|
ประเทศ
|
||||||||||
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
|
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 |
|||||||||||
22 มีนาคม พ.ศ. 2552
14 มีนาคม พ.ศ. 2553 |
||||||||||||
วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม
|
3 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 |
|||||||||||
วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
|
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
|||||||||||
วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
|
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 |
|
||||||||||
Second Sunday of June
|
14 มิถุนายน พ.ศ. 2552
13 มิถุนายน พ.ศ. 2553 |
|||||||||||
Last Sunday of June
|
28 มิถุนายน พ.ศ. 2552
27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 |
|||||||||||
19 สิงหาคม (Pâthâre Prabhu in Southern India)
|
||||||||||||
Second Monday of October
|
12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
11 ตุลาคม พ.ศ. 7440 |
|||||||||||
Third Sunday of October
|
18 ตุลาคม พ.ศ. 2552
17 ตุลาคม พ.ศ. 2553 |
|||||||||||
Last Sunday of November
|
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 |
|||||||||||
ปฏิทินฮิจญ์เราะห์
|
||||||||||||
ทุกวันที่
|
วันที่
|
ประเทศ
|
||||||||||
เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
|
|
กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
|
|
อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม
|
|
อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
|
|
อาร์เจนตินา (Día de la Madre)
|
|